เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิจิกิจฺฉา ได้แก่ วิจิกิจฉานิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว
โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมสงสัยในพระศาสดา ความใส่ใจโดยไม่แยบคาย
มีลักษณะดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุปฺปนฺโนว กามฉนฺโท นุปฺปชฺชติ ความว่า กามฉันทะ
ที่ไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุ 2 อย่างเท่านั้นคือ ด้วยความไม่ฟุ้งขึ้น หรือด้วย
อารมณ์ที่ไม่เคยเสวย ก็ไม่เกิดขึ้น. กามฉันทะนั้น เป็นอันภิกษุข่มได้
แล้วอย่างนั้น ย่อมไม่ได้เหตุหรือปัจจัยอีก. แม้ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบ
ความไม่ฟุ้งขึ้นด้วยอำนาจวัตรเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อภิกษุบางรูป
ประกอบอยู่ในวัตร กระทำวัตรอยู่นั่นเอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว กิเลส
ย่อมไม่ได้โอกาส เพราะฉะนั้น กามฉันทะนั้น เป็นอันชื่อว่าภิกษุข่ม
ไว้ได้ด้วยอำนาจวัตร ภิกษุนั้นการทำกามฉันทะนั้นให้เป็นอันตนข่ม
ไว้ได้อย่างนั้น แล้วเว้นขาดย่อมยืดเอาพระอรหัตได้ เหมือนพระ
มาลกติสสเถระฉะนั้น.
ได้ยินว่า ท่านพระมาสกติสสะ บังเกิดในครอบครัวพรานในที่
ภิกขาจาร แห่งคเมณฑวาสีวิหาร ในโรหณชนบท เจริญวัยแล้วก็

ครองเรือน คิดว่าจักเลี้ยงบุตรและภรรยา วางงาทับเหวไว้ 100 คัน
ดักบ่วงไว้ 100 บ่วง ฝังหลาวไว้ 100 แห่ง สร้างสมบาปไว้เป็น
อันมาก วันหนึ่งถือเอาไฟและเกลือจากเรือน ไปป่า ฆ่าเนื้อที่ติดบ่วง
กินเนื้อที่สุกด้วยถ่านเพลิง กระหายน้ำ ก็เข้าไปคเมณฑวาสีวิหาร
ไม่ได้ดื่มน้ำแม้เพียงบรรเทาความกระหาย ในหม้อน้ำประมาณ 10
หม้อ ในโรงน้ำดื่ม เริ่มยกโทษว่า อะไรกันนี่ ในที่อยู่ภิกษุมีประมาณ
เท่านี้ ไม่มีน้ำดื่มเพียงบรรเทาความกระหาย สำหรับผู้มาเพื่อหวัง
จะดื่ม พระจูฬบิณฑปาติกติสสเถระ ฟังถ้อยคำของเขาแล้ว จึงไป
หาเขา เห็นหม้อน้ำดื่ม ประมาณ 10 หม้อเต็มน้ำในโรงดื่ม คิดว่า
สัตว์นี้ชะรอยจักเป็นชีวมานเปรต จงกล่าวว่า อุบาสก ถ้าท่านกระหาย
น้ำ ก็จงดื่มเถิด ดังนี้แล้ว ยกหม้อขึ้นรดลงที่มือของเขา เพราะอาศัย
กรรมของเขา น้ำดื่มที่ดื่มแล้ว ๆ กระเหยไปเหมือนใส่ลงในกระเบื้องร้อน
เมื่อเขาดื่มน้ำในหม้อทั้งหมด ความกระหายก็ไม่หายขาด ลำดับนั้น พระ-
เถระจึงกล่าวกะเขาว่า ก่อนอุบาสก ก็ท่านทำกรรมหยาบช้า
เพียงไรไว้ ท่านจึงเกิดเป็นเปรตในปัจจุบันทีเดียว วิบากจักเป็นเช่นไร ?

เขาฟังคำของพระเถระแล้ว ได้ความสังเวช ไหว้พระเถระ
แล้วรื้อเรื่องประหารมีฟ้าทับเหวเป็นต้นเหล่านั้นเสีย รีบไปเรือน
ตรวจดูบุตรและภรรยาแล้วทำลายหอก ทิ้ง ประทีป เนื้อ และ
นกไว้ในป่า กลับไปหาพระเถระขอบรรพชา พระเถระกล่าวว่า ผู้มี
อายุ บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก ท่านจักบวชได้อย่างไร ? เขา
กล่าวว่าท่านเจริญ กระผมเห็นเหตุแจ้งประจักษ์อย่างนี้ จักไม่บวช
ได้อย่างไร พระเถระให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้เขาบวช ท่านเริ่ม

วัตรปฏิบัติ ยินดีเรียนเอาพุทธพจน์ วันหนึ่ง ได้ฟังฐานะนี้ใน
เทวทูตสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกนายนิรยบาล ย่อมใส่สัตว์ตัวผู้
เสวยกองทุกข์ มีประมาณเท่านี้ เข้าในมหานรกอีก จึงกล่าวว่า
นายนิรบาล ใส่สัตว์ผู้เสวยกองทุกข์ มีประมาณเท่านี้แล้วลงในมหานรก
อีก โอ มหานรก หนักนะขอรับ พระเถระตอบว่า เออ ผู้มี
อายุ หนัก ท่านถามว่า ผมอาจจะมองเห็นไหมขอรับ พระเถระ
กล่าวว่า ท่านไม่อาจมองเห็น (แต่) เราจักแสดงเหตุอย่างหนึ่ง เพื่อ
จะกระทำให้เหมือนกับที่มองเห็นแล้ว กล่าวว่า เธอจงชักชวนพวก
สามเณรทำกองไม้สด บนหลังแผ่นหินสิ ท่านได้กระทำเหมือนอย่างนั้น
พระเถระนั่งอยู่ตามเดิม สำแดงฤทธิ์ นำเสก็ดไฟประมาณเท่าหิ่งห้อย
จากมหานรก ใส่ลงไปที่กองฟืนของพระเถระนั้น ผู้กำลังดูอยู่นั่นแล
การที่เสก็ดไฟนรก ตกลงไปในกองฟืนนั้น แลการที่กองฟืนไหม้เป็น
เถ้า ปรากฏไม่ก่อนไม่หลังกันเลย.

ท่านเห็นเหตุนั้นแล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าธุระในพระ
ศาสนานี้มีเท่าไร ? พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ มี 2 คือ วาสธุระ
(วิปัสสนาธุระ) และคันถธุระ ท่านกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่า
คันถะ เป็นภาระของผู้สามารถ แต่ศรัทธาของกระผมอาศัยทุกข์
เป็นเหตุ กระผมจักบำเพ็ญวาสธุระ ขอท่านจงให้กรรมฐานแก่
กระผมเถิด ไหว้แล้วก็นั่ง พระเถระตั้งอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ ด้วยคิดว่า
ภิกษุต้องเป็นผู้สมบูรณ์อยู่ด้วยวัตร แล้วจึงบอกกรรมฐานแก่ท่าน
ท่านรับกรรมฐานแล้วกระทำกรรมในวิปัสสนา และบำเพ็ญวัตร
กระทำวัตรที่จิตตลบรรพตมหาวิหารวันหนึ่ง, ทำที่คาเมณฑ-

วาสีมหาวิหารวันหนึ่ง, ทำที่โคจรคามมหาวิหารวันหนึ่ง พอถีนมิทธะ
ครอบงำ จึงทำใบไม้ให้ชุ่มน้ำวางไว้บนศีรษะ นั่งเอาเท้าแช่น้ำ เพราะ
กลัววัตรจะเสื่อม วันหนึ่ง ทำวัตรตลอด 2 ยาม ที่จิตตลบรรพตวิหาร
เมื่อเริ่มจะหลับ ในเวลาใกล้รุ่งจึงนั่งวางใบไม้สดไว้บนศีรษะ เมื่อ
สามเณร กำลังท่องบ่นอรุณวติสูตรอยู่ ณ ข้างเขาด้านตะวันออก
ได้ยินฐานะนี้ว่า

อารภถ นิกฺขมถ ยุญฺชถ พุทฺธสาสเน
ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโร
โย อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อปฺปมฺโต วิหริสฺสติ
ปหาย ชาติสํสารํ ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ.

จงพากเพียร พยายาม บากบั่น ในพระ
พุทธศาสนา จงกำจัดกองทัพ ของมฤตยู เหมือน
กุญชรกำจัดเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดไม่ประมาท
ในพระธรรมวินัยนี้อยู่ จักละชาติสงสาร ทำ
ที่สุดทุกข์ได้


จึงเกิดปีติขึ้นว่า คำนี้จักเป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสโปรด
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเช่นกับเรา ดังนี้แล้วทำงานให้บังเกิด กระทำ
ฌานนั้นนั่นแล ให้เป็นบาทแล้ว ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พยายามสืบ ๆ ไป
ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แม้ในเวลาปรินิพพาน เมื่อ
แสดงเหตุนั้นนั่นแหละ จึงกล่าวคาถาอย่างนี้ว่า

อลฺลปลาสปุญฺชาหํ สิเรนาทาย จงฺกมิ
ปตฺโตสฺมิ ตติยฏฐานํ นตฺถิ เม เอตฺถ สํสโย

เราเอาศีรษะเทินฟ่อนใบไม้สดเดินจงกรม เรา
เป็นผู้ถึงฐานที่ 3 (อนาคามิผล) เราไม่มีความ
สงสัยในเรื่องนี้.


กิเลสที่ข่มไว้ด้วยอำนาจแห่งวัตรของภิกษุเห็นปานนี้ ชื่อว่า
ย่อมเป็นอันข่มไว้อย่างนั้นเทียว เมื่อภิกษุบางรูปขวนขวายในคันถะ
(คัมภีร์พุทธวจนะ) เรียน แสดง และประกาศ คันถะ โดยนัยที่กล่าว
แล้วนั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มไว้ได้ด้วยอำนาจคันถะ
นั่นแล ท่านกระทำกิเลสนั้นให้เป็นอันข่มได้ อย่างนั้นนั่นแล คลาย
กำหนัดได้ แล้วก็ยืดเอาพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระมาลิยเทวเถระ ฉะนั้น.
ได้ยินว่า ท่านพระมาลิยเทวเถระผู้มีอายุนั้น เรียนอุเทศและ
ทำวิปัสสนากรรมฐาน ที่มณฑลารามวิหาร ในกัลลคาม ในเวลา
เป็นภิกษุได้ 3 พรรษา ครั้นวันหนึ่ง เมื่อท่าน เที่ยวภิกษาจาร
ในกัลลคาม อุบาสิกาคนหนึ่ง ถวายข้าวยาคูกะบวยหนึ่ง เกิดความ
สิเนหาเหมือนดังบุตร ให้พระเถระนั่งภายในนิเวศน์ ถวายโภชนะอัน
ประณีตแล้ว ถามว่า ท่านเป็นชาวบ้านไหนละพ่อ ? ท่านตอบว่า
อุบาสิกา อาตมาทำกิจกรรม คือการเช่นนั้น ในมณฑลาราม
วิหาร อุบาสิกากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พ่อจงรับภิกษาเป็นประจำ
ในที่นี้แหละ ตราบเท่าที่เรียนคันถะ ท่านรับคำนั้นแล้ว รับภิกษา
ในที่นั้นเป็นประจำ ในเวลาเสร็จภัตกิจ เมื่อจะทำอหโมทนา จึง

กล่าวเฉพาะ 2 บทว่า สุขํ โหตุ ทุกฺขา มุจฺจตุ (ขอท่านจงเป็นสุข จงพ้น
จากทุกข์) แล้วก็ไปการทำการสงเคราะห์แก่นางนั้นนั่นแล ตลอด 3
เดือน ภายในพรรษา การทำความยำเกรงต่อบิณฑบาต ในวันมหา-
ปวารณาก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. พระมหาเถระผู้เป็น
เจ้าถิ่น กล่าวว่า ท่านมหาเทวะ วันนี้ มหาชน จักประชุมกันในวิหาร ท่าน
จงให้ธรรมทานแก่มหาชนนั้น พระเถระก็รับคำเชิญ ภิกษุหนุ่มและสามเณร
ได้ให้สัญญาแก่อุบาสิกาว่า วันนี้ บุตรของท่านจักแสดงธรรม ท่านพึงไป
วิหารฟังธรรม อุบาสิกากล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ชนทั้งหมดไม่รู้ธรรมกถา
บุตรของดิฉันแสดงแก่ดิฉันตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แสดงเฉพาะ
2 บทเท่านั้นว่า ขอท่านจงมีความสุข ขอท่านจงพ้นจากทุกข์ ท่าน
อย่าเย้ยหยันเลย ภิกษุหนุ่มและสามเณร กล่าวว่า อุบาสิกา ท่าน
จะรับรู้หรือไม่รับรู้ ก็จงไปวิหารฟังธรรมเท่านั้น อุบาสิกาถือเอา
สักการะ มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปบูชาแล้วนั่งฟังธรรมอยู่
ท้ายบริษัท พระธรรมกถึกและภิกษุผู้สวดสรภัญญะตอนกลางวัน
รู้ความพอดีของตนก็ลุกกลับไป ลำดับนั้นพระมาลิยเทวเถระ นั่งบน
ธรรมาสน์ จับพัดวิชนีกล่าวบุรพกถาแล้วคิดว่า เราทำอนุโมทนา
แก่มหาอุบาสิกขา ด้วย 2 บทมาตลอด 3 เดือน วันนี้เราจักจับเอา
(ข้อความ) จากพระไตรปิฎกแล้วกล่าว ความหมายของบททั้ง 2
นั้นตลอดทั้งคืน จึงเริ่มแสดงธรรมเทศนา ตลอดคืนยังรุ่ง ในเวลา
จบเทศนา อรุณขึ้น มหาอุบาสิกา ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
พระเถระอีกรูปหนึ่ง นามว่า ติสสภูตเถระ ในวิหารนั้นนั่นเอง
เรียนพระวินัย เข้าไปภายในบ้านในเวลาภิกขาจาร ได้แลเห็นวิสภา-

คารมณ์ ท่านเกิดความโลภขึ้น ท่านทำเท้าที่ยืนอยู่อย่างนั้น ไม่ให้
เคลื่อนไปไหน เทข้าวยาคูในบาตรของตนลงในบาตรของภิกษุหนุ่มผู้
เป็นอุปัฎฐาก คิดว่า ความวิตกนี้ เมื่อเพิ่มมากขึ้นจักทำเรา ให้จมลง
ในอบาย 4 จึงกลับจากที่นั้น ไปยังสำนักของอาจารย์ ไหว้แล้ว
ยืนอยู่ณะที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กล่าวว่า พยาธิอันหนึ่งเกิดขึ้น ก็ผมแล้ว
ผมไม่สามารถจะเยียวยามันได้ จึงมาหา ไม่ได้มาโดยเรื่องนอกนี้เลย
ขอท่านจงโปรดตรวจดูกระผมตั้งอุเทศกลางวันแล้วและอุเทศตอนเย็น
แต่อย่าตั้งอุเทศในเวลาใกล้รุ่งเลย ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ไปยัง
สำนักของพระมัลลยวาสิมหารักขิตเถระ พระเถระกำลังทำการล้อม
รั้วบรรณศาลาของตน ไม่มองดูท่าน กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ จงเก็บงำ
บาตรและจีวรของท่านเสีย ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผม
มีพยาธิอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าท่านสามารถเยียวยามันได้ไซร้ กระผมจึง
จักเก็บงำ พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ คุณมายังสำนักของท่าน ผู้
สามารถเยียวยาโรคที่เกิดขึ้นแล้ว คุณจงเก็บงำเสียเถิด ภิกษุเป็นผู้
ว่าง่าย คิดว่า อาจารย์ของพวกเรา ไม่รู้ คงไม่กล่าวอย่างนั้น แล้ววาง
บาตรและจีวรแสดงวัตรแก่พระเถระไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระเถระรู้ว่า ผู้นี้เป็นราคจริต จึงได้บอกอสุภกรรมฐาน ท่าน
ลุกขึ้นคล้องบาตรและจีวรไว้บนบ่า ไหว้พระเถระไหว้แล้วไหว้อีก
พระเถระถามว่า ท่านมหาภูติ ทำไม คุณจึงแสดงอาการ
เคารพนบนอบเกินไป ท่านกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ถ้ากระผมจักทำ
กิจของตนได้ไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่ได้เช่นนั้น การเห็นครั้งนี้
จะเป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของผม พระเถระกล่าวว่า ท่านมหาภูติ
ไปเถิด ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี กุลบุตรผู้ประกอบ

ความเพียรเช่นนั้น ได้ไม่ยากดอก ภิกษุนั้นฟังถ้อยคำของพระเถระ
แสดงอาการนอบน้อมแล้วไปสู่โคนกอไม้มะลื่น อันร่มที่ตนกำหนด
หมายตาไว้ในตอนมา นั่งขัดสมาธิ ทำอสุภกรรมฐานให้เป็นบาท
เริ่มตั้งวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัต ทันแสดงปาติโมกข์ ในเวลา
ใกล้รุ่ง ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจคันถะ เป็นอันชื่อว่า
ข่มได้ด้วยประการนั้นเหมือนกัน
ก็เมื่อภิกษุบางรูป บริหารธุดงค์โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส กิเลสนั้นเป็นอันท่านข่มได้ด้วยอานาจธุดงค์
ท่านทำกิเลสนั้น ให้เป็นอันข่มได้แล้วนั่นแล คลายกำหนัดได้แล้ว ยึดพระ
อรหัตไว้ได้ เหมือนท่านพระมหาสิวเถระ ผู้อยู่ที่เงื้อมเขาใกล้บ้าน.
ได้ยินว่า พระมหาสิวเถระ อยู่ในติสสมหาวิหาร ใกล้มหาคาม
สอนพระไตรปิฎก กะภิกษุคณะใหญ่ 18 คณะ ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดย
บาลี ภิกษุ 60,000 รูป ตั้งอยู่ในโอวาทของพรเถระบรรลุพระอรหัต
แล้ว บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารภธรรมที่ตนได้แทงตลอดแล้ว
เกิดโสมนัสขึ้น คิดว่า ความสุขนี้มีแก่อาจารย์ของเราบ้างไหมหนอ ภิกษุนั้น
เมื่อคำนึงอยู่ก็รู้ว่า พระเถระยังเป็นปุถุชน คิดว่า เราจักให้ความ
สังเวชเกิดขึ้นแก่พระเถระด้วยอุบายนี้ จึงจากที่อยู่ของตนไปยังสำนัก
ของพระเถระ ไหว้แสดงวัตรแล้วนั่ง. ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะ
ภิกษุนั้นว่า ท่านปิณฑปาติกะ มาทำไม ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านขอรับ
กระผมมาด้วยหวังว่า ถ้าท่านจักกระทำโอกาสแก่กระผม กระผมก็
จักเรียนธรรมบท ๆ หนึ่ง พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ ภิกษุเป็นอัน
มากเรียนกัน ท่านจักไม่มีโอกาสดอก, ภิกษุนั้นเมื่อไม่ได้โอกาส ในส่วน

กลางคืนและกลางวัน จึงกล่าวว่า เมื่อโอกาสไม่มีอย่างนั้น ท่านจัก
ได้โอกาสแห่งมรณะอย่างไร ? เวลานั้นพระเถระคิดว่า ภิกษุนี้
ไม่มาเพื่อเรียนอุเทศ แต่เธอมาเพื่อทำความสังเวชให้เกิดแก่เรา
แม้ภิกษุนั้น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมดาว่า ภิกษุ พึงเป็น
ผู้เช่นเรา ดังนี้ แล้วไหว้พระเถระ เหาะไปในอากาศอันมีสีดังแก้วมณี.

พระเถระเกิดความสังเวช ตั้งแต่เวลาที่ภิกษุนั้นไปแล้ว บอก
อุเทศตอนกลางวันและในตอนเย็น วางบาตรและจีวรไว้ใกล้หัตถบาส
ในเวลาใกล้รุ่งจึงเรียนอุเทศ ถือบาตรและจีวรลงไปกับภิกษุผู้กำลัง
ลงไปอยู่ อธิษฐานธุดงคคุณ 13 ให้บริบูรณ์แล้ว ไปยังเสนาสนะที่
เงื้อมเข้าใกล้บ้าน ปัดกวาดเงื้อมเขาแล้วให้ยกเตียงและตั่งขึ้น ผูกใจว่า
เรายังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่เหยียดหลังบนเตียง จึงลงสู่ที่จงกรม
เมื่อท่านพยายามอยู่ด้วยหวังใจว่า เราจักบรรลุพระอรหัตในวันนี้ เราจัก
บรรลุพระอรหัตในวันนี้ วันปวารณาก็มาถึง เมื่อใกล้วันปวารณา ท่าน
คิดว่า เราจักละความเป็นปุถุชน ปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณา ก็ลำบาก
อย่างยิ่ง ท่านเมื่อไม่สามารถจะทำมรรคหรือผลให้เกิดในวันปวารณา
นั้นได้ จึงกล่าวว่า ผู้ปรารภวิปัสสนาแม้เช่นเราก็ยังไม่ได้ พระอรหัตนี้
ช่างเป็นคุณอันได้ยากจริงหนอ จึงเป็นผู้มากไปด้วยการยืนและการเดิน
โดยทำนองนี้แล กระทำสมณธรรมตลอด 30 ปี เห็นพระจันทร์เพ็ญ
ลอยเด่นอยู่ในท่ามกลางดิถีวันมหาปวารณา คิดว่า ดวงจันทร์บริสุทธิ์
หรือศีลของเราบริสุทธิ์ รำพึงว่า ในดวงจันทร์ยังปรากฏมีลักษณะ
เป็นรูปกระต่าย แต่รอยดำหรือจดด่างในศีลของเรา ตั้งแต่เราอุปสมบท
จนถึงทุกวันนี้ไม่มี เกิดโสมนัส ข่มปีติเพราะมีญาณแก่กล้า บรรลุพระ-

อรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจ
ธุดงค์ เป็นอันชื่อว่า ข่มกิเลสได้แล้ว โดยประการนั้นนั่นแล.

เพราะภิกษุบางรูป มากไปด้วยการเข้าปฐมฌานเป็นต้น โดย
นี้ยังกล่าวแล้วนั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มได้ด้วย
อำนาจสมาบัติ ท่านกระทำกิเลสให้เป็นอันข่มได้โดยประการนั้น
นั่นแล คลายกำหนัดได้แล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระ-
มหาติสสเถระฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระมหาติสสเถระได้สมาบัติ 8 ตั้งแต่เวลาที่มี
พรรษา 8 ท่านกล่าวธรรมได้ใกล้เคียงอริยมรรค ด้วยอำนาจเรียน
และการสอบถาม เพราะกิเลสที่ถูกข่มไว้ด้วยสมาบัติไม่ฟุ้งขึ้น แม้
ในเวลาที่ท่านมีพรรษา 60 ก็ไม่รู้ตัวว่า ยังเป็นปุถุชน ครั้นวันหนึ่ง
ภิกษุสงฆ์ จากติสสมหาวิหาร ในบ้านมหาคาม ได้ส่งข่าวแก่
พระธัมมทินนเถระ ผู้อยู่ที่หาดทรายว่า ขอพระเถระจงมากล่าวธรรมกถา
แก่พวกกระผม พระเถระรับคำแล้ว คิดว่า ภิกษุผู้แก่กว่า ไม่มีใน
สำนักของเรา แต่พระมหาติสสเถระเล่า ก็เป็นอาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน
แก่เรา เราจะตั้งท่านให้เป็นพระสังฆเถระแล้วจักไป ท่านอันภิกษุ
สงฆ์แวดล้อมแล้ว ไปยังวิหารของพระเถระ แสดงวัตรแก่พระเถระ
ในที่พักกลางวันแล้ว นั่งณะที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระกล่าวว่า
ธัมมทินนะ. ท่านมานานแล้วหรือ ? พระธัมมทินนเถระกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญขอรับ ภิกษุสงฆ์ส่งข่าวสาสน์จาติสสมหาวิหาร
มาถึงกระผม ลำพังกระผมผู้เดียวก็จักไม่มา แต่กระผมปรารถนา
จะไปกับท่านจึงได้มา ท่านกล่าวสาราณิยกถาถ่วงเวลาให้ช้า ๆ

แล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านบรรลุธรรมนี้เมื่อไร ? พระเถระกล่าวว่า
ท่านธัมมทินนะ ประมาณ 60 ปี พระธัมมทินนเถระกล่าวว่า ท่าน
ผู้เจริญ ท่านใช้สมาธิหรือ พระเถระกล่าวว่าขอรับท่าน พระธัมม-
ทินนเถระกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านเนรมิตสระโปกขรณีสระหนึ่ง
ได้ไหม พระเถระกล่าวว่า ท่าน ข้อนั้นไม่หนักเลย แล้วเนรมิต
สระโปกขรณีขึ้นในที่ต่อหน้า และถูกท่านกล่าวว่า ท่านจงเนรมิต
กอปทุม กอหนึ่งในสระนี้ ก็เนรมิตกอปทุมแม้นั้น พระธัมมทินนเถระ
กล่าวว่า บัดนี้ ท่านจงสร้างดอกไม้ใหญ่ในกอปทุมนี้ พระเถระก็
แสดงดอกไม้แม้นั้น ถูกกล่าวว่า ท่านจงแสดงรูปหญิงมีอายุประมาณ
16 ปี ในดอกไม้นี้ ก็แสดงรูปหญิงแม้นั้น ลำดับนั้น พระธัมมทินนะ
กล่าวกะพระเถระนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงใส่ใจถึงรูปหญิงนั้น
บ่อย ๆ โดยความงาม พระเถระแลดูรูปหญิงที่ตนเนรมิตขึ้น เกิด
ความกำหนัดขึ้นในเวลานั้น จึงรู้ตัวว่ายังเป็นปุถุชน จึงกล่าวว่า
ท่านสัปปุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม แล้วนั่งกระโหย่งในสำนัก
ของอันเตวาสิก พระธรรมทินนะ กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมมา
เพื่อประโยชน์นี้เอง แล้วบอกกรรมฐานเบา ๆ เนื่องด้วยอสุภแก่
พระเถระ แล้วออกไปข้างนอกเพื่อให้โอกาสแก่พระเถระ พระเถระ
มีสังขารอันปริกรรมไว้ดีแล้ว พอพระธัมมทินนะนั้น ออกไปจาก
ที่พักกลางวันเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ลำดับนั้น พระธัมมทินนเถระ กระทำท่านให้เป็นพระสังฆเถระ
ไปยังมหาติสสวิหาร แสดงธรรมกถาแก่สงฆ์ กิเลสอันพระเถระเห็น
ปานนั้นข่มแล้ว ก็เป็นอันข่มแล้วโดยประการนั้นนั่นแล

แต่สำหรับพระภิกษุบางรูป กระทำวิปัสสนากรรมฐาน โดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มกิเลสได้ด้วย
อำนาจวิปัสสนานั้นแล ภิกษุนั้นกระทำกิเลสให้เป็นอันข่มได้ ด้วย
ประการนั้น คลายกำหนัดได้แล้วย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนภิกษุ
ผู้เจริญวิปัสสนา ประมาณ 60 รูปในครั้งพุทธกาล
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น รับพระกรรมฐานในสำนักพระ
ศาสดาแล้วเข้าไปป่า อันเงียบสงัด กระทำกรรมในวิปัสสนา (แต่)
ไม่กระทำความพยายามเพื่อประโยชน์แก่มรรคผล ด้วยสำคัญว่า
เราบรรลุมรรคผลแล้ว เพราะกิเลสไม่ฟุ้งขึ้น คิดว่าเราจักกราบทูล
ถึงธรรมที่เราแทงตลอดแล้วแด่พระทสพล จึงมาเถิดพระศาสดา
แต่ก่อนที่ภิกษุเหล่านั้นจะมาถึง พระศาสดาได้ตรัสกะพระอานนท-
เถระว่า อานนท์ ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร จะมาพบเราในวันนี้ เธออย่าให้
โอกาสแก่ภิกษุเหล่านั้นเพื่อจะพบเรา พึงส่งไปว่า พวกท่านจงไป
ป่าช้าทิ้งศพดิบ ทำภาวนาอสุภสด พระเถระบอกข่าวที่พระศาสดา
สั่งไว้แก่ภิกษุที่มาแล้วเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า พระตถาคต
ไม่ทรงทราบแล้วคงไม่ตรัส ชะรอยจักมีเหตุในข้อนี้เป็นแน่ ดังนี้แล้ว
จึงไปยังป่าช้าศพดิบ ตรวจดูอสุภสดก็เกิดความกำหนัดขึ้น เกิดความ
สังเวชขึ้นว่า ข้อนี้ พระสัมมาสัมพุทธคงจักทรงเห็นแล้วเป็นแน่
จึงเริ่มกรรมฐานเท่าที่ตนได้ตั้งแต่ต้น พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุ
เหล่านั้นเริ่มวิปัสสนา ประทับนั่งที่พระคันธกุฎีนั่นแล ได้ตรัสโอภาส
คาถาว่า

ยานีมานิ อปตฺถานิ อลาพูเนว สารเท
กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ ตานิ ทสฺวาน กา รติ

จะยินดีไปใย เพราะได้เห็นกระดูกที่มีสีดังนก
พิลาปที่ใคร ๆไม่ปรารถนา เหมือนน้ำเต้าใน
สารทกาล ฉะนั้น


ในเวลาจบคาถา ภิกษุเหล่านั้น ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตตผล
ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา เป็นอัน
ชื่อว่า ข่มได้แล้วโดยประการนั้นนั่นแล
เมื่อภิกษุบางรูปกระทำนวกรรม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
กิเลสย่อมไม่ในโอกาส เป็นอันชื่อว่า ท่านข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจ
นวกรรม ท่านกระทำกิเลสนั้นให้เป็นอันข่มไว้แล้วอย่างนั้น คลาย
กำหนัดได้แล้วย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระติสสเถระ ในจิตตล-
บรรพต ฉะนั้น.
ได้ยินว่า ในเวลาที่พระติสสเถระนั้นได้ 8 พรรษา เกิดความ
อยากสึก ท่านไม่อาจบรรเทาความอยากสึกนั้นได้ ซักย้อมจีวรปลงผม
แล้ว ไหว้พระอุปัชฌาย์ยืนอยู่ ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะท่านว่า
ท่านมหาติสสะ อาการของท่าน เหมือนไม่ยินดีหรือ ? ภิกษุนั้น
ตอบว่า ขอรับท่าน กระผมอยากสึก กระผมบรรเทามันไม่ได้ พระ
เถระตรวจอัธยาศัยของท่าน เห็นอุปนิสัยพระอรหัต จึงกล่าวโดยความ
เอ็นดูว่า ผู้มีอายุ พวกเรา เป็นคนแก่ ท่านจงสร้างสถานที่อยู่ สำหรับ
พวกเราสักหลังหนึ่ง ภิกษุไม่เคยจกใครพูดเป็นคำที่ 2 จึงรับว่าดีละ
ขอรับ ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า มีอายุเมื่อท่าน
กำลังทำนวกรรม ก็อย่าได้สละแม้แต่อุเทศ จงมนสิการพระกรรมฐาน
และจงกระทำบริกรรมกสิณตามกาลอันสมควร ภิกษุนั้น กล่าวว่า

กระผมจักกระทำอย่างนั้นขอรับ ไหว้พระเถระแล้ว ตรวจดูที่อันเป็น
เงื้อมเห็นปานนั้น คิดว่า ตรงนี้ทำได้ จึงนำฟืนมาเผาชำระ (ที่) ให้
สะอาด แล้วก่ออิฐ ประกอบประตูและหน้าต่าง ทำที่เร้นเสร็จ พร้อม
ทั้งก่ออิฐบนพื้นที่จงกรมเป็นต้น แล้วตั้งเตียงและตั่งไว้แล้ว ไปยังสำนัก
พระเถระไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ ที่เร้นเสร็จแล้ว โปรดจงอยู่เถิด
พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านทำงานนี้ได้โดยยาก วันนี้ท่านอยู่ในที่นี้
เสียวันหนึ่ง ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดีละขอรับ ล้างเท้าแล้ว เข้าไปยังที่เร้น
นั่งสมาธิ รำลึกถึงกรรมที่คนทำ เมื่อท่านคิดว่า การทำการขวนขวาย
ด้วยกาย้อนเป็นที่ถูกใจ เรากระทำแก่พระอุปัชฌาย์แล้ว ปีติเกิดขึ้น
ในภายใน ท่านข่มปีตินั้นได้แล้ว เจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัต
อันเป็นผลเลิศ ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจนวกรรม เป็นอัน
ชื่อว่า ท่านข่มได้แล้วโดยประการนั้นเหมือนกัน

ส่วนภิกษุบางรูป มาจากพรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์ กิเลส
ไม่ฟุ้งขึ้น เพราะท่านไม่มีอาเสวนะ (คือการทำจนคุ้น) เป็นอันชื่อว่า
ท่านข่มได้ด้วยอำนาจภพ ท่านเว้นขาดกิเลสนั้น อันข่มได้แล้วโดย
ประการนั้น ยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนท่านพระมหากัสสปะ ฉะนั้น

จริงอยู่ ท่านพระมหากัสสปะนั้น ไม่บริโภคกามทั้งที่อยู่
ครองเรือน ละสมบัติใหญ่ ออกบวช เห็นพระศาสดาเสด็จมา เพื่อ
ต้อนรับในระหว่างทาง วายบังคมแล้ว ได้อุปสมบทด้วยโอวาท 3 ข้อ
บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในอรุณที่ 8 ภิกษุเห็นปานนี้
ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจภพ เป็นอันชื่อว่าข่มกิเลสได้ อย่างนั้นเหมือนกัน

อนึ่ง ภิกษุใด ได้อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ซึ่งไม่เคยได้เสวย
เริ่มตั้งวิปัสสนา ในอารมณ์นั้นนั่นเอง คลายกำหนัดได้แล้วย่อมยึด
พระอรหัตไว้ได้ กามฉันท์ ที่ไม่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจอารมณ์ที่ไม่เคย
เสวย ก็ชื่อว่าไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเห็นปานนี้

บทว่า อุปฺปนฺโน ในคำว่า อุปฺปนฺโน วา กามจฺฉนฺโท ปหียติ
นี้ ได้แก่ เกิดแล้ว มีแล้ว ฟุ้งขึ้นแล้ว

บทว่า ปหียติ ความว่า ท่านละได้ด้วยปหานะ 5 เหล่านี้ คือ
ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปัสสัทธิปหาน นิส-
สรณปหาน อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้นอีก ในปหาน 5 อย่างนั้น กิเลส
ที่ท่านละได้ด้วยวิปัสสนา ด้วยอำนาจตทังคปหาน เพราะเหตุนั้น
วิปัสสนา พึงทราบว่า ตทังคปหาน ส่วนสมาบัติย่อมข่มกิเลสได้
เพราะฉะนั้น สมาบัตินั้นพึงทราบว่า วิกขัมภนปหาน ละได้ด้วยการข่ม
มรรค ตัดกิเลสได้เด็ดขาดก็เกิดขึ้น ผลสงบระงับเกิดขึ้น พระนิพพาน
สลัดออกจากกิเลสทั้งปวง มรรคผลนิพพาน ทั้ง 3 ดังว่ามานี้ ท่าน
เรียกว่า สมุจเฉทปหาน ปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน อธิบายว่า
กิเลส ท่านละด้วยปหาน 5 อันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระเหล่านี้

บทว่า อสุภนิมิตฺตํ ได้แก่ปฐมฌานพร้อมทั้งอารมณ์เกิดขึ้น
ในอสุภ 10 ด้วยเหตุนั้น พระโปราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า
อสุภนิมิตมีในอสุภ ธรรมทั้งหลายอันมีอสุภเป็นอารมณ์ ชื่อว่าอสุภนิมิต

บทว่า โยนิโส มนสิกโรโต ความว่า ผู้ใส่ใจอยู่ด้วยอำนาจมนสิการ
โดยอุบายดังกล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิ ดังนี้ว่า ในธรรมเหล่านั้น
โยนิโสมนสิการเป็นไฉน ? คือ มนสิการในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
บทว่า อนุปฺปนฺโน เจว กามจฺฉนฺโท นุปฺปชฺชติ ได้แก่ กามฉันท์
ที่ยังไม่ฟุ้งก็ไม่ฟุ้งขึ้น บทว่า อุปฺปนฺโน กามจฺฉนฺโท ปหียติ ความว่า
กามฉันทะฟุ้งขึ้นแล้ว ท่านละได้ด้วยปหานทั้ง 5

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง 6 เป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือ การ
เรียนอสุภนิมิต การประกอบเนือง ๆ ในอสุภภาวนา ความเป็นผู้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ความ
เป็นผู้มีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ จริงอยู่
เมื่อภิกษุเรียนเอาอสุภนิมิตทั้ง 10 ก็ดี เจริญอสุภภาวนาอยู่ก็ดี
คุ้มครองในอินทรีย์ก็ดี รู้จักประมาณในโภชนะ เพราะเมื่อมีโอกาส
กลืนกินได้ 4-5 คำ ก็ดื่มน้ำเสียแล้ว ยังอัตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ
ก็ดี ท่านย่อมละกามฉันทนิวรณ์ได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

จตฺตาโร ปญฺจอาโลเป อภุตฺวา อุทกํ ปิเว
อลํ ผาสุวิหาราย ปหิตฺตฺสฺส ภิกฺขุโน

ภิกษุไม่พึงบริโภคคำข้าวเสีย 4 - 5 คำ แล้วดื่มน้ำ
(แทน) ก็พออยู่เป็นผาสุก สำหรับภิกษุผู้มีจิตอัน
สงบ.

ภิกษุ คบหากัลยาณมิตร ยินดีในอสุภภาวนา เช่นกับพระ
ติสสเถระ ผู้บำเพ็ญอสุภกรรมฐาน ย่อมละกามฉันท์ได้ ด้วย
อสัปปายกถา อันอาศัยอสุภ 10 ในการยืนและนั่งเป็นต้นก็ละกามฉันท์
ได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เมตตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาที่แผ่ประโยชน์เกื้อกูล
ไปในสัตว์ทุกจำพวก ก็เพราะเหตุที่จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ย่อม
หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น ฉะนั้น เมตตานั้น
ท่านจ่งเรียกว่า เจโตวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ว่าโดยพิเศษ เมตตานั้น
พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องกลุ้มรุมคือ
พยาบาททั้งหมด. ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เมตตาในคำว่า เมตฺตาเจโต-
วิมุตฺติ นั้น แม้ปฏิปทาเป็นส่วนเบื้องต้นก็ใช้ได้. แต่เพราะท่านกล่าวว่า
เจโตวิมุตติ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเมตตา เฉพาะที่เป็นอัปปนา โดย
อำนาจติกฌานและจตุกกฌานเท่านั้น. บทว่า โยนิโส มนสิกาโร
ความว่า มนสิการอยู่ ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ด้วยมนสิการ โดย
อุบายซึ่งมีลักษณะดังกล่าวแล้ว.